ไม่ใช่ครั้งแรก!ลิขสิทธิ์ ‘ซีเกมส์’ เคยเก็บมาแล้ว ‘ค่ายดัง’ซื้อมาถ่ายฟันกำไรมหาศาล

จากกรณีที่ประเทศกัมพูชา เรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 32 ที่กรุงพนมเปญ ระหว่างวันที่ 5-17 พ.คคำพูดจาก เว็บสล็อตใหม่ล่า. นี้ โดยที่ไทย เป็นประเทศที่มีการถูกเรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์ซีเกมส์ครั้งนี้ สูงที่สุดในอาเซียน อยู่ที่ 800,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 28 ล้านบาท ซึ่งเจ้าภาพอ้างว่า พิจารณาจากมูลค่าทางการตลาดของแต่ละประเทศ

ล่าสุดมีการเปิดเผยข้อมูลว่านี่ไม่ใช่ครั้งแรก ที่มีการขายลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ โดยครั้งแรกเกิดขึ้นในซีเกมส์ครั้งที่ 25 ที่กรุงเวียงจันทน์ สปป.ลาว เมื่อปี พ.ศ. 2552 โดยบริษัท เพชรจำปาฯ จำกัด ได้รับมอบหมายจากเจ้าภาพให้เป็นตัวแทนจำหน่ายลิขสิทธิ์ให้ชาติสมาชิก เน้นการขายเพื่อถ่ายทอดสดทางฟรีทีวี และทีวีดาวเทียม

โดยในครั้งนั้น บมจ.อาร์เอส (RS) เป็นผู้ได้รับสิทธิจัดการเรื่องลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดในประเทศไทย แต่ไม่มีการเปิดเผยว่าซื้อลิขสิทธิ์มาด้วยมูลค่าเท่าไหร่ แต่มีรายงานข่าวในช่วงเวลานั้นว่า RS มีรายได้จากการหาสปอนเซอร์สนับสนุนการถ่ายทอดสดได้ราว 30-40 ล้านบาท ขณะที่เหตุผลในการขายลิขสิทธิ์ในครั้งนั้น เจ้าภาพอ้างว่าเป็นการนำรายได้มาเป็นส่วนแบ่งให้กับชาติเจ้าภาพ รวมถึงสหพันธ์ซีเกมส์ ซึ่งหมายความว่ารายได้จะกลับไปสู่ชาติสมาชิกทั้ง 11 ชาติ แต่ไม่มีรายงานยืนยันว่ามีการจัดสรรส่วนแบ่งดังกล่าวหรือไม่อย่างไร

อย่างไรก็ตาม การขายลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดของ สปป.ลาว ในครั้งนั้น ถูกต่อต้านพอสมควร โดยเฉพาะตัวแทนทีวีพูล รวมถึงกลุ่มคีย์แมนของคณะกรรมการโอลิมปิคไทยในช่วงเวลาดังกล่าว เนื่องจากตามปกติ เจ้าภาพจะทำหน้าที่จัดตั้งศูนย์ผลิตสัญญาณเพื่อแจกจ่ายให้ชาติสมาชิก โดยเก็บค่าใช้จ่ายทางเทคนิคและการบริการตามอัตราความต้องการของสมาชิกตามที่เจรจากันเท่านั้น ไม่ได้มีการขายลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด

ด้วยเหตุดังกล่าว ส่งผลให้ซีเกมส์ครั้งต่อ ๆ มา จึงกลับไปใช้ระบบเดิม ไม่มีการเก็บค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด จนกระทั่ง กัมพูชา นำระบบเรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์กลับมาใช้ ในซีเกมส์ครั้งที่ 32 นี้