เสร็จสิ้นปี “ทางต่างระดับแยกสนามบินสุราษฎร์ธานี” เพิ่มพลังภาคใต้
รายงานข่าวจากกรมทางหลวง (ทล.) แจ้งว่า สำนักก่อสร้างสะพาน ได้ดำเนินโครงการก่อสร้างทางแยกต่างระดับ จุดตัดทางหลวงหมายเลข 41 กับทางหลวงหมายเลข 417 (แยกสนามบิน) จ.สุราษฎร์ธานี งบประมาณ 1,324,951,800 บาท ปัจจุบันมีความคืบหน้า 79.408% อยู่ระหว่างก่อสร้าง คาดแล้วเสร็จเดือน ธ.ค. 66
โดยได้ดำเนินโครงการบนทางหลวงหมายเลข 41 ระหว่าง กม.159+450-162+661.451 และทางหลวงหมายเลข 417 ระหว่าง กม.0+000-0+950 ระยะทาง 4.161 กิโลเมตร (กม.) พื้นที่ อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี รูปแบบจะก่อสร้างงานโครงสร้างสะพาน แบ่งลักษณะงานออกเป็น 5 ส่วนดังนี้
สะพานตัวที่ 1 (Ramp R2) ก่อสร้างสะพานคอนกรีต ขนาด 4 ช่องจราจร ยาว 447.275 เมตร บน ทล.41 สามารถรองรับรถที่มาจาก จ.ชุมพร เพื่อข้ามแยกดังกล่าวไป อ.ทุ่งสง จ.สุราษฎร์ธานี กระบี่ พังงา ภูเก็ต และตรังคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
สะพานตัวที่ 2 (Ramp R1) ก่อสร้างสะพานคอนกรีต ขนาด 2 ช่องจราจร ยาว 627.500 เมตร บน ทล.41 รองรับรถที่ออกจากสนามบินสุราษฎร์ธานี ใช้สะพานตัวนี้ เพื่อไปลง ทล.417 ไป อ.เมืองสุราษฎร์ธานี อ.ขนอม อ.สิชล และ จ.นครศรีธรรมราชคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
สะพานตัวที่3 (Road U2)ก่อสร้างสะพานคอนกรีต ขนาด1ช่องจราจร ยาว597เมตร บน ทล.41ซึ่งจะเชื่อมต่อกับสะพานตัวที่2 (Ramp R1)ใช้ในการกลับรถไป อ.ทุ่งสง
สะพานตัวที่4 (Box Girder)ก่อสร้างสะพานคอนกรีต ขนาด4ช่องจราจร ยาว93เมตร บน ทล.41เชื่อมต่อกับสะพานตัวที่1 (Ramp R2)เพื่อไป อ.ทุ่งสง
สะพานตัวที่5 (Minor Bridge)ก่อสร้างสะพานคอนกรีต ขนาด14ช่องจราจร ยาว 28 เมตร จะเป็นสะพานข้ามคลองตัดผ่าน ทล.41
นอกจากนี้ ได้ก่อสร้างและขยายผิวจราจรบน ทล.41 และ ทล.417 บริเวณโครงการดังกล่าว จากเดิมขนาด 4 ช่องจราจร เป็นขนาด 14 ช่องจราจร ทิศทางละ 7 ช่องจราจร พร้อมงานระบบระบายน้ำและบ่อพัก งานไฟฟ้าส่องสว่าง อุปกรณ์อำนวยความปลอดภัย งานสีตีเส้น และป้ายจราจร
โครงการนี้เริ่มต้นสัญญาวันที่ 29 ส.ค. 63 สิ้นสุดสัญญาเดิม 13 ส.ค. 66 จากนั้นได้ขยายสัญญาใหม่ถึงวันที่ 3 ม.ค. 67 ระยะเวลาก่อสร้าง 1,214 วัน ซึ่งขยายสัญญาใหม่ครั้งนี้ เนื่องจากผลกระทบโควิด-19 โดยมีบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับจ้าง
สำหรับทางแยกจุดตัด ทล.41 กับ ทล.417 เป็นเส้นทางเชื่อมโยงระหว่างสนามบินสุราษฎร์ธานีกับภาคใต้ฝั่งตะวันออก และต่อเนื่องภาคใต้ตอนล่างกับภาคใต้ตอนบน ทำให้จุดตัดบริเวณดังกล่าวมีปริมาณการจราจรสูงขึ้น อีกทั้งในระยะ 1 กิโลเมตร (กม.) เป็นทางเข้า-ออก สนามบินสุราษฎร์ธานี ปัจจุบันมีจำนวนเที่ยวบินเพิ่มมากขึ้น ทำให้บริเวณแยกนี้มีการจราจรหนาแน่น และเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง
เมื่อโครงการแล้วเสร็จ ทำให้การเดินทางสะดวก รวดเร็ว คล่องตัว ปลอดภัย ป้องกันการสูญเสียที่เกิดจากอุบัติเหตุของประชาชน รองรับปริมาณการจราจรที่เพิ่มขึ้นในอนาคต เนื่องจากจุดตัดบริเวณดังกล่าว เป็นเส้นทางเชื่อมโยงภาคใต้ฝั่งตะวันออกกับทางเข้า-ออก สนามบินสุราษฎร์ธานี รองรับการกระจายความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจสู่ภูมิภาค